วิธีเลือกซื้อปูนซีเมนต์ ตอนที่ 1 “ปูนปอร์ตแลนด์”

วิธีเลือกซื้อปูนซีเมนต์ ตอนที่ 1 “ปูนปอร์ตแลนด์”

สวัสดีค่ะ…

ถ้าพูดถึงเรื่องของวัสดุก่อสร้างในมุมของคนที่เป็นช่าง หรือคนที่คลุกคลีอยู่ในวงการนี้ อาจจะมองว่าเป็นเรื่องง่ายไม่เห็นจะมีไรซับซ้อนเลยซักนิด

แต่ในมุมมองของคนทั่วไปล่ะคะ คนที่กำลังจะสร้างบ้าน จะซ่อมโน่นรื้อนี้ หรือคนที่นานๆ จะต้องเข้าไปข้องแวะกับวงการนี้สักที มันคงจะไม่ง่ายนักใช่มั้ยคะ ไม่ต้องอะไรมากมายค่ะ แค่เรื่องปูนซีเมนต์อย่างเดียวก็เริ่มจะ…งงแล้ว 🤔🙄❓

ใจเย็นๆนะคะทุกคน วันนี้ “ไทยแลนด์วัสดุ” จะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่างแจ้งกันเป็นเรื่องๆไป ในแบบฉบับเข้าใจง่ายๆ อ่านแล้วไม่ต้องมานั่งแปลไทยเป็นไทย ใครไม่เข้าใจหรืออยากให้อธิบายเพิ่มเติมเรื่องไหน ยกมือถามเข้ามาได้เลยนะคะ


เรามาเริ่มกันที่เรื่องของ “ปูนซีเมนต์” กันก่อนเลย

ว่ากันด้วยเรื่องของ “ปูนซีเมนต์” ฉบับเข้าใจง่าย EP.1

ถ้าพูดถึงวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง “ปูนซีเมนต์” น่าจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เลยก็ว่าได้ เพราะปูนซีเมนต์ถือเป็นองค์ประกอบหลักที่ต้องใช้ในงานโครงสร้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน ผนัง หรือพื้น แต่ปูนซีเมนต์ในร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป มันมีเยอะแยะมากมาย หลากชนิด หลายยี่ห้อ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า ในแต่ละงานเราควรใช้ปูนซีเมนต์แบบไหน ยี่ห้ออะไร ใช้ปูนยังไง ให้เหมาะกับงาน

 

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “ปูนปอร์ตแลนด์” กันใช่มั้ยคะ เอ๊ะ!! มันคืออะไร ??

 

“ปูนปอร์ตแลนด์” เป็นปูนที่ใช้กับงานโครงสร้าง เช่น งานเทพื้น ทำเสา หรือคาน ถ้าจำชื่อไม่ได้ ให้เราจำ ป๊อด โมเดิร์นด๊อก ไว้ก็ได้นะคะ ชื่อจะคล้ายๆกัน 😅

 

construction engineer worker,Civil engineer checking work at the construction site, House construction concept.

                                 

ปูนชนิดนี้จะมีทั้งหมด 5 Type หรือ 5 ประเภท

แต่ที่ขายกันในร้านวัสดุก่อสร้างทั่วๆไป จะเป็นปูนปอร์ตแลนด์ Type 1 คือใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักเป็นหลัก

ส่วน Type อื่นๆมักจะใช้ในงานพิเศษ คำว่าพิเศษ ก็คือไม่ใช่ธรรมดาทั่วไป เราจึงไม่ต้องไปใส่ใจอะไรมากนัก เพราะไม่น่าจะเกี่ยวกับเราเท่าไหร่ และปูนพวกนี้ ตามท้องตลาดก็ไม่ค่อยมีขายด้วยค่ะ ต้องสั่งพิเศษเช่น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ สำหรับการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น สร้างเขื่อนเก็บน้ำ กำแพงกันดิน สะพานท่าเรือ เป็นต้น

ตลาดวัสดุก่อสร้าง แบรนด์หลักๆ จะมีมากมายหลากหลายแบรนด์ อาทิ
– กลุ่มบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย
– กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง
– กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีน
– กลุ่มปูนซีเมนต์เอเชีย
– บริษัทชลประทานซีเมนต์
– บริษัทภูมิใจไทยซีเมนต์

ปูนซีเมนต์ แบรนด์หลักในท้องตลาด

และแต่ละแบรนด์ก็ยังจะแข่งกันออกปูนถุงมาขายกันอีกไม่รู้กี่ชนิด อย่างเครือซีเมนต์ไทย (SCG) ก็จะมีปูนตราช้างแดง ปูนตราช้างส้ม ปูนตราเสือ ปูนตราแรด

หรือกลุ่มปูนซีเมนต์นครหลวง ก็จะมีปูนเพชรพลัส ปูนอินทรีแดง ปูนอินทรีเขียว

คือแค่ 2 บริษัทนี้เราก็จำแทบไม่ไหวแล้วใช่มั้ยคะ

ถ้าไม่รู้ว่าจะเลือกแบรนด์ไหนดี เราสามารถขอคำแนะนำจากทางร้านนะคะ ว่าเขามีปูนปอร์ตแลนด์ยี่ห้ออะไรขายบ้าง อาจจะต้องคำนึงถึง งบประมาณที่เราตั้งไว้และแบรนด์ที่มีอยู่ในใจเราเป็นหลักค่ะ

เลือกยี่ห้อไหนก็ได้เหรอ..?

มันก็ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกนะคะ แต่โดยปกติแล้วปูนซีเมนต์ถุงที่มีขายในท้องตลาด จะมี มอก. (มาตรฐานอุตสาหกรรม) รับรองทั้งหมดอยู่แล้วค่ะ ยิ่งแบรนด์หลักๆ ยิ่งหมดกังวลไปได้เลยนอกจาก มอก. เขายังมีทั้งฝ่ายเทคนิค ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ มาคอยแก้ปัญหา พัฒนาผลิตภัณฑ์ของเขาตลอดเวลา เพราะนิยามคำว่าดีของแต่ละคนก็คงจะไม่เหมือนกันใช่มั้ยล่ะคะ



บางคนบอกปูนที่ดี ต้องแห้งเร็ว ฉาบลื่น ไม่แตกร้าว บางคนบอกว่าปูนที่ดีก่อแล้วต้องเซ็ตตัวเร็ว หรือบางคนชอบปูนที่เหนียวเกาะตัวได้ดี ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับช่างแต่ละคนด้วย ว่าจะใช้ส่วนผสมปูน อันได้แก่ หิน ทราย และ น้ำ ในอัตราส่วนที่เท่ากันหรือไม่ ถ้าอัตราส่วนไม่เท่ากัน ผลลัพธ์ยังไงก็ไม่เหมือนกัน ปูนอันไหนดี ส่วนนึงก็ขึ้นอยู่กับความคุ้นมือของช่างแต่ละคน

 

Construction technicians are mixing cement, stone, sand for construction.

สรุปง่ายๆ คือปูนถุงในท้องตลาด จริงๆเราใช้ได้หมดทุกยี่ห้อ แตกต่างกันในส่วนผสม ความเข้มของปูน ส่วนตัวแปรที่สำคัญคือตัวผู้ใช้ คือช่างที่ผสมปูนค่ะ ถ้าช่างผสมปูนตามสูตรที่ใช้กันปกติ ยังไงก็ใช้งานได้แน่นอนค่ะ

เอาเป็นว่า พูดไปพูดมาชักจะเยอะ เดี๋ยวจะงงไปกันใหญ่ เราไปต่อกันใน EP. 2 ดีกว่านะคะ

เราจะไปทำความรู้จักเรื่องของปูนกันให้มากขึ้นอีกซักนิด ถึงประเภท และรูปแบบการใช้งานต่างๆ

สำหรับ EP. นี้ “ไทยแลนด์วัสดุ” ต้องขอลาไปก่อน

แล้วพบกันใหม่นะคะ บ๊ายบาย…

Leave a comment