ใครที่ต้องการลอกสีเก่า เพื่อทาสีใหม่ ลอกสีรถยนต์ ลอกสีจักรยาน มอร์เตอร์ไซค์ ผนังปูน รั้วบ้าน งานไม้ งานกระจก ลอกสีเหล็ก สแตนเลส พลาสติก PVC
ไทยแลนด์วัสดุ เราเอาน้ำยาลอกสี มาทดสอบการใช้งานให้ดูกันครับ
น้ำยาลอกสี เป็นน้ำยาสีใส ซึ่งไม่มีส่วนผสมของกรดโซเดียม หรือ โปตัสเซียมไฮดรอกไซต์ ที่ทำไห้ติดไฟ ตัวน้ำยาลอกสี มีประสิทธิภาพสูงในการลอกสีโดยไม่ทำให้เกิดการเสียหายของพื้นผิววัสดุ สามารถลอกได้กับพื้นผิวที่เป็น โลหะ, ไม้, คอนกรีต, แก้ว, พลาสติก , PVC , กระจก
พื้นผิวที่ห้ามใช้น้ำยาลอกสีเลยก็คือ แผ่นอะคริลิค และ โฟม เพราะจะทำให้พื้นผิวเสียหายหรือเกิดการละลายตัวนั่นเอง ตัวน้ำยาลอกสีสามารถลอกได้กับสีเคลือบชนิดต่าง ๆ เช่น สีโพลียูรีเทน สีเคลือบอีพ๊อกซี่ สีเคลือบอะคริลิค สีน้ำมันเคลือบเงา น้ำมันวาร์นิช แลกเกอร์ สีพ่นอุตสาหกรรม ฯลฯ
ลักษณะการใช้งาน
1. ควรใช้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2. ตัวน้ำยาลอกสีเปิดแล้วใช้ใด้ทันที โดยไม่ต้องผสมสารชนิดอื่นเพิ่มเติม
3. ทาน้ำยาลอกสี บนผิวสีที่ต้องการจะลอกทิ้งไว้ เช่น กล่องไม้ หรือ โลหะ
4. ทิ้งไว้ 3-5 นาที ให้สีนั้นพอง หรือ นิ่มแล้วใช้เกียงโป๊ว หรือ แปลงขูดปัด ลอกสีเก่าออกให้สะอาด
5. ทำความสะอาดพื้นผิวที่ต้องการจะทาสีใหม่ด้วย น้ำ ทินเนอร์ หรือ น้ำมันสน เพื่อขจัดคราบน้ำยาลอกสีออกให้สะอาด เพื่อทำการลงสีใหม่ต่อไป
อุปกรณ์เบื้องต้นที่ต้องมี
1. ถุงมือยาง
2. แว่นตา กันน้ำยากระเด็นเข้าตา
3. หน้ากากผ้าปิดจมูก
4. ถาดสำหรับวางชิ้นงาน
5. เกียง
6. แปรงทาสี
7. กระบอก หรือ ภาชนะ ที่ไว้เทน้ำยาลอกสี
8. คีม ไว้ใช้หยิบสิ่งของที่จุ่มอยู่ในน้ำยาลอกสี
ตัวอย่างการลอกสี แบบ DIY ง่ายๆทำได้ด้วยตัวเอง
ลอกสีฝาครอบแคร้งรถมอเตอร์ไซค์ ลอกสีประตูไม้
ลอกสีกำแพงปูนลอกสีรั้วบ้าน
ข้อควรระวัง
1. น้ำยาในกระป๋องมีแรงดัน ห้ามเขย่ากระป๋อง
2. ควรเจาะฝาในให้มีรูเล็กๆก่อนเปิด ใช้งานเพื่อลดแรงดันในกระป๋อง และ ปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน
3. น้ำยามีฤทธิ์ระคายเคือง ควรหลีกเลี่ยงการสูดดม
4. ป้องกันการกระเด็นเข้าตา และ ถูกผิวหนัง ขณะใช้งาน เพราะจะทำให้น้ำยากัดผิวหนัง จึงต้องสวมแว่นตา ถุงมือยางและผ้าปิดจมูกเพื่อกันสารเคมี
5. ควรเก็บกระป๋องน้ำยาลอกสีในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
6. ภายหลังการใช้งานต้องล้างมือ และ อุปกรณ์ด้วยน้ำสบู่ ตามด้วยน้ำสะอาด
สามารถดูการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่คลิปวิดิโอด้านล่างนี้ได้เลยนะครับ เพื่อนๆคนไหนอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถคอมเมนต์สอบถามเข้ามาที่ช่อง YouTube Thailand Watsadu ได้เลยนะครับ